วัฒนธรรมสุรินทร์ ถิ่นอิสานใต้
ซเราะ ซแรย์ สะเร็น
ความเป็นมา
สังคมไทยในปัจจุบัน เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและเทคโนโลยี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสังคมและวัฒนธรรม ก่อให้เกิดการครอบงำทางด้านความคิด การมองโลก แบบแผนการประพฤติปฏิบัติ การบริโภคนิยม และปัญหาทางสังคมวัฒนธรรมอื่นๆตามมา อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาการหย่าร้างและความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาการมีค่านิยมที่เบี่ยงเบนหรือไม่พึงประสงค์ของสังคมในแต่ละช่วงวัยและส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงกันตลอดช่วงอายุ ตั้งแต่พัฒนาการเด็กไม่สมวัย ผลลัพธ์ทางการศึกษาของเด็กวัยเรียนค่อนข้างต่ำ ครอบครัวมีรูปแบบที่หลากหลายและเปราะบางสูง ส่งผลกระทบต่อการบ่มเพาะให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ ประกอบกับการเลื่อนไหลของวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามาในวัฒนธรรมผ่านสังคมยุคดิจิตอล ในขณะที่คนไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่สามารถคัดกรองและเลือกรับวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม ส่งผลต่อวิกฤตค่านิยมทัศนคติและพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต การพัฒนาในระยะต่อไปจึงต้องให้ความสำคัญกับการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ เริ่มตั้งแต่กลุ่มเด็กที่ต้องพัฒนาให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีทักษะทางสมอง ทักษะการเรียนรู้และทักษะชีวิต เพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพควบคู่กับการพัฒนาคนไทยในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดีมีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม มีทักษะความรู้และความสามารถ ปรับตัวเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงรอบตัวที่รวดเร็วบนพื้นฐานของการมีสถาบันสังคม และวัฒนธรรมที่เข้มแข็งทางสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันชุมชน และภาคเอกชนที่ร่วมกันพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพสูง อีกทั้งยังเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในมิติวัฒนธรรมหลายประการ อาทิ ๑) การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีความรักความห่วงแทนและภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น ๒) การยกระดับการบริหารจัดการมรดกและทุนทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ๓) การนำทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาด ๔) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ ๕) การพัฒนารูปแบบและเทคนิคการแสดงของไทยให้มีความทันสมัย น่าสนใจและได้มาตรฐานในระดับสากล ๖) การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในมิติทางวัฒนธรรม ๗) การสร้างความรู้ความเข้าใจและความสำคัญของประชาคมอาเซียนในมิติศาสนา วัฒนธรรม
วัฒนธรรม จึงเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต้องพัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต โดยแสดงออกในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะการแสดง ดนตรี ทัศนศิลป์ การแต่งกาย ภาษาพูด รวมทั้งประเพณีและวิถีชีวิตที่ดีงาม เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึก และกระตุ้นให้สังคมเกิดความตระหนัก มีความตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเผยแพร่ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณค่าความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทย ทั้งที่เป็นวิถีชีวิตค่านิยมและความเป็นไทย
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักทำหน้าที่ส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงได้วิเคราะห์ข้อมูลตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ประกอบกับกรอบทิศทางยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี ด้านวัฒนธรรม ตามกรอบทิศทางยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี โดยมีเป้าหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรม มีภาพลักษณ์ความสัมพันธ์ที่ดี และได้รับการยอมรับในเวทีทางวัฒนธรรมระดับท้องถิ่นและสากล ทั้งผลักดันสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม เพิ่มมากขึ้น
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้จัดโครงการลานวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๖๓ วัฒนธรรมสุรินทร์ ถิ่นอีสานใต้“ซะเราะ ซะแรย์ สะเร็น ” โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ประกอบไปด้วย
-
-
-
- กิจกรรมการแสดงแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านไทย และนานาชาติ
- กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากชมรมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- การออกร้านจำหน่ายสินค้า OTOP และสินค้าพื้นเมือง
- การแสดงลิเกพื้นบ้านเขมร จากคณะลิเกกล้วยหอม
-
-
โดยทุกกิจกรรมของโครงการลานวัฒนธรรม มุ่งหวังปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้เรียนรู้วิถีชีวิตท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ โดยมหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เป็นการสร้างเครือข่ายและประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนได้ทราบและเห็นความสำคัญศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสืบต่อไป

