รวมใจภักดิ์ ๕ ทศวรรษ

ราชภัฏสุรินทร์

แนวคิดและหัวข้อการจัดการประกวด

     มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่จัดการศึกษากว่า 50 ปี โดยแรกเริ่ม เป็นวิทยาลัยครูสุรินทร์ซึ่งได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2516 ในสังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่จากวิทยาลัยครูเป็นสถาบันราชภัฏ ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2535 และในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 ได้รับการจัดตั้งเป็นราชภัฏสุรินทร์ ต่อมา ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ด้วยประวัติความเป็นมา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพเป็นกำลังพัฒนาประเทศ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2566 จึงเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ “รวมใจภักดิ์ 5 ทศวรรษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์”

     

     การประกวดศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็นกิจกรรมหนึ่งในการเฉลิมฉลองภายใต้หัวข้อ “รวมใจภักดิ์ ๕ ทศวรรษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์” ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้นักเรียนและนักศึกษาได้ร่วมประกวดแข่งขันวงดนตรี รวมไปถึงบุคลากร คณาจารย์ และผู้ที่สนใจ มีส่วนร่วมในอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่และปลูกฝังค่านิยมอันดีงามให้กับเยาวชนไทยได้เกิดความภาคภูมิใจ ซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นสืบไป

คุณสมบัติผู้เข้าประกวด

ประเภทนักเรียนและนักศึกษา

  1. กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา หรือระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า อายุไม่เกิน 23 ปี ในวันที่ปิดรับสมัคร
  2. สมาชิก (เฉพาะผู้เข้าประกวด) ไม่น้อยกว่า 15 คน และไม่เกิน 35 คน โดยกำหนดดังนี้
                       2.1 แดนซ์เซอร์ และนักแสดงประกอบ ไม่เกิน 15 คน
                   2.2 นักดนตรี ไม่เกิน 20 คน
  1. ผู้สมัคร 1 คน เป็นสมาชิกได้เพียงหนึ่งวงเท่านั้น
  2. สมาชิกทุกคนที่เข้าประกวด ต้องอยู่ในสถาบันการศึกษาเดียวกัน
  3. ผู้เข้าประกวดทุกคนจะต้องไม่ติดสัญญาอยู่ในสังกัดหรือค่ายเพลงใดมาก่อน
  4. ผู้เข้าประกวดจะต้องยอมรับข้อตกลงเงื่อนไขการเข้าร่วมประกวด และข้อรับรองตามรายละเอียดในเอกสารการสมัคร ถ้าไม่เป็นไปตามข้อที่กำหนดไว้ ทางคณะกรรมขอสงวนสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน

เกณฑ์การประกวด

เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกวด

1 เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ที่ผู้จัด ได้จัดเตรียมไว้ให้บนเวทีการประกวดมีดังนี้ คือ กลองชุด ประกอบด้วย Bass Drum 22”, Tom 10”, Tom 12”, Floor Tom14”, Floor Tom 16” Snare Drum 14×5 ½ “, Cymbal with Boom Stand 3, Hi-Hat with Stand 1, Double Foot Pedal 1” ตู้แอมป์กีต้า 2 ตู้ ตู้แอมป์คีย์บอร์ด 2 ตู้ ตู้แอมป์แบส 1 ตู้ ), (อนุญาตให้ผู้เข้าประกวดนำอุปกรณ์มาเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมนอกเหนือจากผู้จัด จัดเตรียมไว้ให้ได้ )

2 เครื่องดนตรีที่ผู้เข้าประกวดต้องเตรียมมาเองได้แก่กีตาร์ไฟฟ้า, เบสไฟฟ้า, คีย์บอร์ด รวมทั้งเครื่องเป่า เครื่องดนตรีไทย หรือเครื่องดนตรีพื้นเมือง และต้องแจ้งให้ทางคณะกรรมการทราบด้วย

เกณฑ์การให้คะแนน

1 คุณภาพและความสามารถของการร้อง / การประสานเสียง 30 คะแนน
2 คุณภาพและความสามารถในการบรรเลงดนตรี / ความสมดุล (Balance) ของวง 40 คะแนน
3 ความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี 30 คะแนน
4 ความพร้อมเพรียงของการแสดง 30 คะแนน
5 ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบท่าเต้น และอุปกรณ์ประกอบการแสดง 40 คะแนน
6 ความสอดคล้องของการแต่งกาย และการถ่ายทอดอารมณ์เพลง 30 คะแนน

การตัดคะแนน

1 กรณีที่ใช้เวลารวมเกินเวลาที่กำหนด (20 นาที) ตัดคะแนนสุทธิ 1 คะแนน ทุกๆ 20 วินาที เศษของวินาทีคิดเป็น 1 คะแนน
2 การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินให้ถือเป็นที่สิ้นสุด

การประท้วงและพิจารณาตัดสิทธิ์การประกวด

     ขอสงวนสิทธิ์ที่จะให้มีการประท้วงจากวงที่เข้าประกวดยกเว้นทางคณะกรรมการจะเป็นผู้พบเห็นสิ่งที่ผิดระเบียบในการประกวดเอง

การส่งผลงาน

การประกวดแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ รอบคัดเลือก Online Audition และรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งมีขั้นตอนการส่งผลงาน ดังนี้

รอบคัดเลือก Online Audition

1 ส่ง Clip VDO การแสดงวงดนตรี จำนวน 1 เพลง ความยาวไม่เกิน 5 นาที โดยไม่จำกัดแนวเพลง
2 Clip VDO ที่ส่งประกวดจะต้องเห็นสมาชิกทุกคนที่ทำการแสดงดนตรี และไม่ผ่านการตัดต่อภาพ และเสียง
3 Clip VDO ที่ทำการอัดเสียงไว้แล้ว และมาทำการถ่ายซิงค์ (Sync) คณะกรรมการจะไม่พิจารณา
4 เพลงที่นำมาใช้ในการประกวดจะต้องมีเนื้อหาที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี ไม่มีการดูหมิ่นสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไม่มีการพาดพิง ว่าร้าย หรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อบุคคลหรือองค์กรใดๆ
5 ส่ง Clip VDO โดยการอัพโหลดลงบน YouTube และตั้งค่าตั้งค่าความเป็นส่วนตัว เป็น “Unlisted” ความละเอียดไม่น้อยกว่า 720p
6 สมัครและส่งลิงค์ Clip VDO มาที่ https://bit.ly/3hAmaL7
7 ตัดสินโดยคณะกรรมการ โดยคัดเลือกวงเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศจากวงที่ได้รับคะแนนรวมสูงสุด 5 วง จากทั่วประเทศ
8 ประกาศผลรอบคัดเลือกผ่านเฟสบุค หรือเว็บไซต์สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
     1) เฟสบุค https://www.facebook.com/CultureSRRU
     2) เว็บไซต์ https://culture.srru.ac.th/ accheld2023

รอบชิงชนะเลิศ

1 กำหนดเพลงที่ใช้ในการประกวดทั้งหมด 2 เพลง สามารถเล่นได้ทั้งเหมือนต้นฉบับ (Original Version) หรือเรียบเรียงใหม่ (Re Arrange) ก็ได้ ประกอบด้วย
     1) เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือเพลงที่มีเนื้อหาเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ จำนวน 1 เพลง
     2) เพลงอิสระ จำนวน 1 เพลง (ควรเลือกใช้เพลงที่เหมาะสมกับเยาวชน และวัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีงาม)

     ทั้งนี้ การแสดงต้องสอดแทรกศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของตนเพื่อแสดงให้เห็นถึงการ
ดำรงชีวิต วัฒนธรรมในท้องถิ่น ในรูปแบบการแสดงของ นักดนตรี แดนซ์เซอร์ หรือนักแสดงประกอบ เช่น
การแต่งกาย วิถีชีวิต ดนตรี การร า หรือท่าทางที่แสดงออกมา เป็นต้น


2 เวลาที่ใช้ในการประกวดไม่เกิน 20 นาที (รวมเพลง Soundcheck )
3 สามารถเปลี่ยนเพลงจากรอบคัดเลือกได้
4 ประกวดที่เวทีการแสดง สวนเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุรินทร์ (สวนใหม่) ตำบล นอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ สุรินทร์ (ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงสถานที่และจำนวนวันการประกวดโดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า)

รางวัลการประกวด

1 ผู้สมัครเข้าร่วมประกวด จะได้รับเกียรติบัตรจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ทุกวง
2 รางวัลสำหรับวงที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ จะได้รับเกียรติบัตรสำหรับสมาชิกและอาจารย์ผู้ควบคุม/ผู้ควบคุมวง
3 รางวัลรอบชิงชนะเลิศ ดังนี้
    3.1 รางวัลชนะเลิศ ถ้วยรางวัลชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล มูลค่า 40,000 บาท
    3.2 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเงินรางวัล มูลค่า 30,000 บาท
    3.3 รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล มูลค่า 20,000 บาท
    3.4 รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล พร้อมเงินรางวัล มูลค่า (รางวัลละ) 10,000 บาท

ข้อตกลงการประกวด

ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงระเบียบการประกวดและรางวัลต่างๆที่อาจจะมีขึ้น

     ภาพและเสียง

          1.ผลงานภาพและเสียงอันเกิดจากการแสดงทั้งบนเวทีและบริเวณงานของวงดนตรีที่เข้าร่วมการประกวดถือเป็นกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยชอบธรรม ที่จะนำผลงานดังกล่าวไปกระทำการใดๆ โดยไม่ต้องขออนุญาต หรือแจ้งให้ผู้ใดทราบล่วงหน้า
          2.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้ผู้ใดแอบอ้างการเป็นเจ้าของ ลอกเลียนแบบ ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำผลงานดังกล่าวไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ หากผู้ใดละเมิดลิขสิทธิ์โดยการกระทำข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จะฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายแก่ผู้ละเมิดให้ถึงที่สุด

ช่องทางการสมัครและการส่งผลงาน

1 รับสมัครรอบคัดเลือก วันที่ 22 ธันวาคม 2565 และปิดรับสมัคร 31 มกราคม 2566
2 สมัครและส่งลิงค์ Clip VDO มาที่ https://bit.ly/3hAmaL7 หรือสแกนคิวอาร์โค็ด

 

3 การตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้สมัครทุกคนจะต้องระบุข้อมูล ประกอบด้วย ชื่อ – สกุล วันเดือนปีเกิด สถานศึกษา ตำแหน่งภายในวง พร้อมรูปถ่ายปัจจุบัน (ไม่เกิน 6 เดือน) ขนาด 1 นิ้ว พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้
4 ทางคณะกรรมการสามารถขอเอกสารเพิ่มเติมได้
5 ผู้เข้าประกวดต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวนักเรียนตัวจริงมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ลงทะเบียนในวันงาน
6 กรณีไม่มีบัตรประจำตัวนักเรียนหรือบัตรประชาชนสามารถนำเอกสารสำคัญที่ราชการออกให้ใช้แทนได้หรือทางสถานศึกษาทำหนังสือรับรองพร้อมระบุวันเดือนปีเกิด โดยผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติจากผู้บริหารสถานศึกษาและประทับตราสถานศึกษา

กำหนดการสำคัญ

1 รับสมัครรอบคัดเลือกตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2566
2 ประกาศผลรอบคัดเลือก วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566  ผ่านทาง  https://culture.srru.ac.th/accheld2023
3 รอบชิงชนะเลิศ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566

สนใจสมัครเข้าประกวด

ประกวดศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปี 2566

“รวมใจภักดิ์ 5 ทศวรรษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์”

ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2566

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร. 085 131 9752 (เกณฑ์การประกวดและวงดนตรี)

โทร. 088 723 5944 (ระบบการรับสมัครแข่งขันออนไลน์)

โทร. 087-957-5716 (ระบบการรับสมัครแข่งขันออนไลน์)

อาคาร 38 ชั้น 1 เลขที่ 186 หมู่ที่ 1 ถนน สุรินทร์-ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 3200 E-mail: culture@srru.ac.th โทรศัพท์ : 044-515227